Feeds:
Posts
Comments

Archive for March 28th, 2009

ความดีงามเล็กๆ
น้อยๆ  
(ที่เราอาจละเลย)
จากบทความ
EASY GOOD DEEDS ~ www.islamation.com

1.   ระลึกถึงอัลลอฮฺในทุกๆ การกระทำของท่าน
ขอดุอาอฺต่อพระองค์ก่อนจะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ไม่ว่าจะก่อนนอน ก่อนทานอาหาร ก่อนเริ่มต้นการเรียน
ก่อนขับรถ เป็นต้น

2.   อ่านอัลกุรอานภาษาอาหรับและศึกษาความหมายทุกวัน
ใช้เวลาว่างในการฟังพระดำรัสของอัลลอฮฺ ซุบฮานะฮู วะตะอาลา

3.   ตั้งใจศึกษาศาสนาอย่างจริงจัง พยายามทำให้การเรียนศาสนาในห้องเรียน
การฮาละกอฮฺ หรือการพบปะพี่น้องนั้นเต็มไปด้วยความรู้ที่เกิดประโยชน์

4.   ประเมินตัวเองทุกๆ วันก่อนเข้านอน
ขอบคุณอัลลอฮฺสำหรับทุกๆ ความดีงามที่ท่านได้กระทำ และขออภัยโทษต่อพระองค์กับความผิดพลาดหรือบาปต่างๆ
ที่ท่านได้กระทำไปในแต่ละวัน

5.   หลีกเลี่ยงการมองดูภาพ หรือสิ่งใดก็ตามที่เป็นสิ่งฮะรอม
ไม่ว่าจะเป็นภาพจากโทรทัศน์ นิตยสาร หรือที่ใดก็ตาม

6.   ศึกษาประวัติศาสตร์อิสลาม รวมไปถึงเรื่องราวของบรรดาอุลามะอฺและบรรดานักต่อสู้ที่เสียชีวิตในหนทางของอัลลอฮฺที่หัวใจของพวกท่านนั้นเต็มไปด้วยอิสลาม
และพยายามนำแบบอย่างของพวกท่านเหล่านั้นมาใช้ในการดำเนินชีวิต

7.   ใช้เวลาว่างไปกับการฟังอัลกุรอานของนักกอรีย์ที่ชอบ
เช่น อบู บักร อัช ชาฏรี
, อัลฆัมดิ, อัซ ซูดัยซฺ อัล มินเชาวีย์
8.   ชักชวนกลุ่มเพื่อนที่ไม่ใช่มุสลิมเข้าร่วมงานศาสนา
เช่นการไปฟังบรรยาย หรือเข้าร่วมกิจกรรมศาสนาต่างๆ

9.   พบปะ พูดคุยกับเพื่อนมุสลิมคนอื่นๆ
(เพื่อเป็นการเพิ่มพูนอีหม่านให้ตัวท่าน)

10. พูดคุยกับเพื่อนที่ไม่ใช่มุสลิมเกี่ยวกับอิสลาม
ลองถามตัวเองดูว่า ท่านเคยใช้เวลาไปกับการอธิบายหลักการอิสลามเบื้องต้นให้พวกเขาทราบหรือยัง

11. เข้าร่วมกิจกรรม การปราศรัย หรือค่ายที่จัดโดยมุสลิม
ปีละครั้ง

12. ละหมาดซุนนะฮฺ นะวะฟีล ให้มากเท่าที่ท่านจะทำได้
หาเวลาในการละหมาดอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น การละหมาดดุฮาอฺ ละหมาดกิยามุลลัย ละหมาดตะฮัดยุด

13. เป็นสมาชิกนิตยสารมุสลิม (ที่มีประโยชน์และน่าเชื่อถือ)

14. ซื้อสินค้าอิสลาม (สินค้าที่ผลิตโดยมุสลิม) แทนการซื้อสินค้าของแบรนด์ทอมมี่
ฮิล เควิน ไคลน์ ไนกี้ หรืออดิแด็ซ เป็นต้น

15. ศึกษาและติดตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับโลกมุสลิมในปัจจุบัน
พยายามมีส่วนร่วมในการให้ความช่วยเหลือ โดยท่านอาจจะให้การสนับสนุนบริจาคเงิน สิ่งของให้กับองค์กรที่ให้ความช่วยเหลือพี่น้องมุสลิมที่ประสบปัญหาต่างๆ

16. ถือศีลอด
ทุกๆ วันจันทร์และพฤหัสบดี
17.
ลดสายตาลงต่ำ
(มีความนอบน้อม)

18.
อ่านอัลกรุอานหลังการละหมาดฟัรดู
19.
เข้านอนแต่หัวค่ำ
เพื่อที่ท่านจะได้ตื่นขึ้นมาละหมาดฟัรดูในช่วงต้นเวลาได้

20.
พยายามให้ตัวของท่านนั้นมีน้ำละหมาดอยู่ตลอดเวลา

21.
เมื่อมีการบรรยายศาสนา
ให้ตั้งใจฟัง และนำคำสอนคำตักเตือนเหล่านั้นมาปฏิบัติอย่างจริงจัง โดยมีเจตนาที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองไปในทางที่ดีขึ้น

22.
หาเวลากับตัวเองบ้าง
เพื่อที่ท่านจะได้ใช้เวลานั้นในการใคร่ครวญถึงการดำเนินชีวิตของท่าน การงานต่างๆ ของท่านที่ผ่านมา
และเพื่อทำการซิเกรฺ ระลึกถึงอัลลอฮฺ

23.
ทำศอดะกอฮฺทุกวัน
ให้เป็น
นิสัยเหมือนการกิน การดึ่ม
ในทุกๆ วันของท่าน และไม่สำคัญว่าการทำศอดะกอฮฺของท่านนั้นจะมากหรือน้อย

24.
ใช้เวลาอยู่กับกลุ่มคนที่มีความรู้
เช่น ฮาฟิซ กอรีย์ หรือบรรดาอุลามะอฺ แน่นอนว่าท่านต้องได้เรียนรู้บางสิ่งบางอย่างจากคนเหล่านั้น

25.
ศึกษาวิธีการดะวะฮฺให้กับคนที่ไม่ใช่มุสลิม
การดะวะฮฺนั้นถือเป็นศิลปะอย่างหนึ่งที่ต้องใช้ความรู้และความชำนาญถึงจะทำหน้าที่นี้ได้

26.
ดูโทรทัศน์ให้น้อยลงเท่าที่จะทำได้
 

27.
ไปมัสญิด (เพื่อทำการละหมาด พบปะพี่น้องมุสลิม)
 

28.
อย่าพร่ำบ่นหรือวิจารณ์หากท่านไม่ชอบในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
หากแต่ทำในส่วนของท่านให้ดีที่สุดเพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งนั้นๆ ไปในทางที่ดี

29.
ยืนหยัดในสิ่งที่ดีงาม
และสิ่งที่ถูกต้อง ละทิ้งสิ่งชั่วร้าย และปฏิเสธการฆีบะ (การนินทา)

30.
หลีกเลี่ยงการกิน
ดื่มที่มากจนเกินพอดี อย่ากินหรือดึ่มจนกว่าท่านจะรู้สึกหิวจริงๆ และพยายามอย่าทำให้กระเพาะของท่านนั้นเต็ม

31.
หากท่านเป็นคนที่ชอบฟังเพลง
ดนตรี ให้ท่านเปลี่ยนมาฟังนะซีด (ที่ไม่มีเครื่องดนตรีเป็นเสียงประกอบ) หรืออัลกุรอาน

32.
ให้การสนับสนุนพี่น้องมุสลิมของท่าน
โดยการซื้อวีซีดี ดีวีดี เทป โปสเตอร์ หนังสือที่เกี่ยวกับอิสลาม รวมไปถึงเสื้อผ้าของมุสลิม
ท่านจำต้องทำให้
อิสลามนั้นเป็นส่วนหนึ่งของทุกๆกฎเกณฑ์ในการดำเนินชีวิตของท่าน
33.
หากท่านได้พบปะพี่น้องมุสลิมใหม่
ท่านก็ควรจะทำความรู้จักกับพวกเขาและทำให้พวกเขารู้สึกว่า พวกเขาเป็นส่วนหนึ่งกับท่าน
เป็นพี่น้องของท่าน

34.
เลิกการตั้งแก๊ง
การแบ่งพรรคแบ่งพวก หรือคบเพียงแค่เฉพาะกลุ่มคนของตน

35.
ท่านควรมีหนังสือเกี่ยวกับอิสลาม
หรืออัลกุรอานแปลไทยไว้ที่บ้านของท่านมากกว่า 1 เล่ม เพราะท่านไม่อาจรู้ได้ว่า วันหนึ่งอาจจะมีใครสักคนที่สนใจอยากศึกษาเกี่ยวกับอิสลาม
เพื่อที่ว่าท่านจะสามารถแบ่งปันหนังสือที่มีอยู่ให้เขาได้

بنت الاٍسلام

 

Read Full Post »

โลกแห่ง ความเห็นแก่ตัว โดย นูร์ ฮาบีบ

บทความ In a
Selfness World โดย
Nour Habib
แหล่งที่มา
www.islamation.com

หมายเหตุ
คัดลอก
คำแปลอัลกรุอาน
มาจากเวปไซค์
www.alquran-thai.com

และได้มีการแก้ไขข้อความบางส่วน

มันยากที่จะเชื่อว่า ปัจจุบันนี้บรรดาพ่อแม่
ผู้ปกครองมักให้คำแนะนำ ตักเตือนกับลูกๆ วัย 5
6 ขวบของเขา
ขณะไปส่งพวกเขาที่โรงเรียน โดยการใช้คำพูดที่แสดงออกถึงความกังวลใจต่อลูกๆ
ในลักษณะที่ว่า
พวกเขาจะต้องได้รับสิ่งที่ดีที่สุดในชีวิต
และอย่าให้ใครมาเอาเปรียบได้

คำตักเตือน
ที่แลดูเหมือนว่าเป็นความห่วงใย
แท้จริงแล้วมันมีบางอย่างที่ไม่ถูกต้องแฝงไว้อยู่ในนั้น

และหากเราลองพิจารณาจาก ลักษณะการตักเตือน ของบรรดาพ่อแม่ข้างต้น
เราก็จะพบว่า
ไม่มีเลยแม้แต่ คำเดียว
ที่แสดงให้เห็นถึงการปลูกฝังในเรื่องของ
การแบ่งปัน

มันเป็นเหมือนการแสดงที่ถูกฉายซ้ำแล้วซ้ำเล่ากับครอบครัวในแถบตะวันออกกลาง
ซึ่งมีความขัดแย้งกับ
ประวัติศาสตร์และ หลักการศาสนาของพวกเขาที่เน้นย้ำในเรื่องของ
ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และ ความมีน้ำใจ
มันกลายเป็นเรื่องน่าเศร้า ที่คนในสังคมปัจจุบันนั้นถูกล้างสมอง โดยการที่พวกเขาละเลยเรื่องราวของการแบ่งปัน
(เพิ่มเติม ผู้แปล) แต่กลับให้ความสนใจเพียงแค่เรื่องของ
ตัวเอง และ คนในครอบครัวของตัวเอง เท่านั้น

หากเราลองตามไปดูบรรยากาศในห้องเรียนที่โรงเรียนของลูกๆ
เราจะพบว่าการเรียนการสอนภายในห้องนั้นขาดซึ่งการอบรม และการแสดงออกในเรื่องของ
การแบ่งปัน
ครูอาจารย์ไม่ได้ให้การสนับสนุนหรือส่งเสริมนักเรียนให้รู้จักการแบ่งปันระหว่างเพื่อนนักเรียนด้วยกัน
ซึ่งไม่มีแม้แต่การแบ่งปันดินสอสีกับเพื่อนในห้อง
หรือแม้แต่การกล่าวตักเตือนของครูอาจารย์
เมื่อเห็นว่าเด็กบางคนมีพฤติกรรมที่แบ่งพรรคแบ่งพวก

ภายในห้องเรียนนั้นดูราวกับว่าเด็กๆ นั้นถูกปกครองภายใต้กฎระเบียบที่ว่า
ใครมาก่อนได้ก่อน

นักจิตวิทยาเด็กท่านหนึ่งในรายการโชว์ของประเทศอียิป
ได้นำเสนอเกี่ยวกับปัญหาสังคมโดยเน้นย้ำในเรื่องของ
ความเห็นแก่ตัว
ว่าเป็นสาเหตุหลักของปัญหาที่สังคมปัจจุบันกำลังเผชิญอยู่
ซึ่งเห็นได้จากการที่คนในชุมชนส่วนใหญ่ไม่ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันใน
การที่จะทำให้การดำรงชีวิตของพวกเขานั้นดีขึ้น พวกเขาไม่ยอมเสียสละเพื่อกันและกัน
อีกทั้งพวกเขาก็ไม่ให้ความสนใจเกี่ยวกับสภาพความเป็นอยู่ของเพื่อนบ้าน

นักจิตวิทยาท่านนั้นได้เสนอความคิดเห็นว่า  หากเพียงแค่เรา มีความคิดที่จะร่วมแบ่งปัน มันก็จะสามารถช่วยทำให้สังคมมนุษย์นั้นมีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น
เพราะในความเป็นจริงแล้ว เราไม่สามารถที่จะดำเนินชีวิตโดยปราศจากเพื่อนมนุษย์
เราไม่สามารถที่จะอาศัยอยู่บนโลกใบนี้ได้เพียงลำพัง
การพึ่งพาอาศัยกัน
ถือเป็นคำจำกัดความที่ชัดเจนเกี่ยวกับคุณสมบัติเฉพาะของมนุษย์แต่ละคน
และเมื่อเราลองใคร่ครวญเกี่ยวกับความจำเป็นของการอยู่ร่วมกันกับผู้คน
ท้ายที่สุดแล้ว เราจะพบว่า เรากำลังทำให้การดำเนินชีวิตของเรานั้นง่ายขึ้น

การไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว
ไม่ใช่แนวคิดใหม่สำหรับสังคมมุสลิม เมื่อเรามองดูประชาชาติมุสลิมทั่วโลก
เราก็มักจะได้เห็นตัวอย่างของกลุ่มคนที่มีความห่วงใยและมีความเอื้ออาทรต่อพี่น้องของเขา
พวกเขาแบ่งปันสิ่งที่มีให้กันและกัน
อีกทั้งพวกเขายังเอาใจใส่ต่อทุกข์สุขของบรรดาพี่น้องของเขาอีกด้วย

ศาสนทูตมูฮัมมัด (ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะศัลลัม) กล่าวว่า ไม่มีใครในหมู่พวกท่านที่มีความศรัทธาอย่างแท้จริง
เว้นเสียแต่ว่า เขาปรารถนาต่อพี่น้องของเขา ดังเช่นที่เขาปรารถนาต่อตัวเขาเอง
(มุสลิม)

อัลลอฮฺทรงตรัสไว้ใน ซูเราะฮฺ อัล อิมรอน
พวกเจ้าจะไม่ได้มาซึ่งคุณค่า (แห่งความศรัทธา) (อันสูงสุด)
จนกว่าพวกเจ้าจะใช้จ่าย (ไปกับการบริจาค) จากสิ่งที่พวกเจ้ารัก
3.92

ถ้อยคำเหล่านี้เป็นบทพิสูจน์ว่า ความเห็นแก่ตัว
นั้นไม่เป็นที่ยอมรับใน
อิสลาม 
ถ้อยคำเหล่านี้มิได้ถูกประทานลงมาเพียงเพื่อเป็นการตักเตือนมุสลิมให้รู้จักแบ่งบันสิ่งที่ตัวเองมีให้กับผู้อื่นเท่านั้น
หากแต่ยังสนับสนุนให้มุสลิมรู้จักการ
ให้
ในสิ่งที่ดีที่สุดจากสิ่งที่พวกเขารักต่อผู้อื่นอีกด้วย
อัลลอฮฺมิได้ทรงสั่งใช้ให้บ่าวของพระองค์ทำการบริจาคในสิ่งที่เป็น
ส่วนเกิน หรือ ส่วนที่เหลือ จากชีวิตของพวกเขา
หากแต่ด้วยพระปรีชาสามารถและพระเมตตาของพระองค์ พระองค์จึงทรงบัญชาให้บรรดาบ่าวของพระองค์นั้นแบ่งปันสิ่งที่พวกเขารักมากที่สุดแก่ผู้อื่น
มีหลายรายงานจากการดำเนินชีวิตของท่านรสูล (ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะศัลลัม)
  ที่เป็นตัวอย่างให้เราเห็นว่า
ท่านและบรรดาศอฮาบะฮฺได้นำพระบัญชาของอัลลอฮฺมาปฏิบัติกันอย่างจริงจังเพียงใด
พวกท่านเหล่านั้นเป็นผู้ที่ปราศจากซึ่ง
ความเห็นแก่ตัวโดยสมบูรณ์

มีตัวอย่างที่น่าสนใจอยู่เรื่องหนึ่ง
ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังจากการฮิจรอฮฺ เมื่อนบีมูฮัมมัด (ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ
วะศัลลัม) ได้ขอให้ชาวอันศอรฺ (มุสลิมจากมะดีนะฮฺ) รับชาวมูฮาญิรีนท่านหนึ่ง (มุสลิมจากมักกะฮฺที่ย้ายมาอยู่ที่มะดีนะฮฺ)
เป็นพี่น้องของพวกเขา

มีเรื่องราวดีงามมากมายที่ปรากฏอยู่เพื่อเป็นแบบอย่างแก่เรา
หนึ่งในนั้นคือเรื่องราวของชาวอันศอรฺ ที่พวกเขาได้จัดสรรทรัพย์สินทั้งหมดที่มี
และทำการบริจาคทรัพย์สินจำนวนครึ่งหนึ่งให้กับพี่น้องมูฮาญิรีน

และยังมีเรื่องราวของศอฮาบะฮฺท่านหนึ่งที่เชิญพี่น้องมุสลิมคนหนึ่งไปที่บ้านของเขา
ระหว่างที่เดินทางกลับบ้าน
ศอฮาบะฮฺท่านนั้นได้ถามภรรยาว่านางมีอาหารเพียงพอหรือไม่
ด้วยเพราะว่าครอบครัวของท่านนั้นยากจน นางตอบว่า
อาหารที่เรามีอยู่นั้นไม่เพียงพอ
อีกทั้งอาหารที่มีนั้นก็เพียงพอสำหรับคนเพียงหนึ่งคนเท่านั้น
ท่านจึงบอกกับนางว่า ไม่เป็นไรและขอให้นางนั้นเตรียมอาหารค่ำเอาไว้
และจากนั้นให้นำลูกๆ เข้านอนเสีย เพื่อที่ว่าเมื่อแขกมาถึง
เขาจะไม่เห็นว่าเจ้าบ้านนั้นไม่ได้ทานอาหารร่วมกับเขา (ด้วยเพราะความมืดบดบัง)

จากนั้น อัลลอฮฺทรงประทานอายะฮฺเกี่ยวกับเหตุการณ์ครั้งนี้ลงมา ใน
ซูเราะ อัล ฮัชรฺ

และบรรดาผู้ที่ได้ตั้งหลักแหล่งอยู่ที่นครมะดีนะฮ.(ชาวอันศอร)และบรรดาผู้ตั้งมั่นในศรัทธาก่อนหน้าการอพยพ
(ชาวมุฮาญิรีน) พวกเขา (ชาวอันศอร) รักใคร่ผู้ที่อพยพมายังพวกเขาและไม่พบความต้องการหรือความอิจฉาอยู่ในทรวงอกของพวกเขาในสิ่งที่ได้ถูกประทานมาให้(กับผู้อพยพ)
อีกทั้งพวกเขาได้ให้สิทธิผู้อื่นก่อนตัวของพวกเขาเอง
ถึงแม้ว่าพวกเขาก็มีความต้องการอยู่มากก็ตาม
และผู้ใดปกป้องการตระหนี่ที่อยู่ในตัวของเขา ชนเหล่านั้นคือผู้ประสบความสำเร็จ
59.9

ในขณะนั้น ศอฮาบะฮฺท่านนั้นแทบไม่มีอะไรเหลือเลย
อีกทั้งสิ่งที่ท่านมีเหลืออยู่ ท่านก็มอบให้กับพี่น้องไปทั้งหมด
และไม่เหลือสิ่งใดไว้ให้แก่ตัวท่าน ภรรยาของท่าน หรือลูกของท่านเลย ดูสิว่าแม้แต่
ผู้ที่ยากจนที่สุด
ยังเรียนรู้ที่จะแบ่งปัน

เรื่องราวต่างๆ นี้เป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ใจยิ่งนัก ทุกๆ
ครั้งที่ข้าพเจ้า (ผู้เขียน) ได้ยินเรื่องราวเหล่านี้
ความรักของข้าพเจ้าที่มีต่อบรรดาศอฮาบะฮฺก็เพิ่มพูนมากยิ่งขึ้น
การกระทำของพวกท่านเหล่านั้นออกมาจากหัวใจอย่างแท้จริง
พวกเราบางคนอาจจะกล่าวว่า ก็พวกท่านเป็นศอฮาบะฮฺนี่นา
พวกท่านเหล่านั้นย่อมดีกว่าคนธรรมดาอย่างเราอยู่แล้ว
อีกทั้งยังอาจจะให้เหตุผลว่า พวกเราไม่สามารถไปทัดเทียมกับบรรดาศอฮาบะฮฺได้
ไม่ว่าจะพยายามแค่ไหนก็ตาม

จึงไม่เป็นเรื่องที่น่าแปลกว่า เหตุใด บรรดาศอฮาบะฮฺจึงมีความโดดเด่นมากกว่าพวกเรา หากแต่แท้จริงแล้ว
อัลฮัมดุลิลลา ในปัจจุบันนี้ก็ยังมีคนที่ดีหลงเหลืออยู่มากพอสมควร

เมื่อ 2
3 เดือนที่ผ่านมา ทางช่องดาวเทียมของอียิป มีรายการหนึ่งได้นำเสนอเรื่องราวของ
ชายคนหนึ่งที่กำลังได้รับความเจ็บป่วยด้วยโรคทางสมอง
และจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด ซึ่งการผ่าตัดครั้งนี้มีค่าใช้จ่ายประมาณ 230
,000
ดอลล่าสหรัฐ จึงได้มีการขอรับบริจาคผ่านทางรายการ
ซึ่งบรรดาผู้บริจาคนั้นได้ให้การบริจาคในจำนวนที่แตกต่างกันไป บางคนก็บริจาค 100
,000 ดอลล่า และบางคนก็บริจาค 50 ดอลล่า

ขณะที่การขอรับบริจาคได้ดำเนินไป ก็ได้มีชายคนหนึ่ง ชื่อ มูฮัมมัด
ชารีฟ โทรเข้ามาในรายการ เพื่อขออภัยที่เขานั้นได้บริจาคเงินเป็นจำนวนที่น้อยมาก
ซึ่งเป็นจำนวนเพียงแค่ 15 อียิปปอนด์ (หรือประมาณ 100 บาทไทย)
ชารีฟได้อธิบายเหตุผลโดยปราศจากความละอายว่า
ครอบครัวของเขานั้นมีเงินเหลืออยู่เพียงแค่ 30 อียิปปอนด์ (210 บาทไทย) ในขณะนั้น
และนั่นเป็นสาเหตุที่ทำเขาไม่สามารถบริจาคได้มากกว่านี้
ผู้จัดรายการจึงได้กล่าวคำขอบคุณต่อเขาในการบริจาคครั้งนี้

หลังจากที่ชารีฟได้วางสายไป ก็มีคนโทรเข้ามาในรายการ
และขอทำการบริจาค 500 อียิปปอนด์กับ
ชายที่กำลังป่วย และได้ทำการบริจาคอีก
100 อียิปปอนด์ต่อชารีฟ และคนที่โทรเข้ามาหลังจากนั้น
ก็บริจาคเงินให้กับผู้ป่วยและชารีฟเช่นเดียวกัน

หลังจากนั้นไม่นานนัก มูฮัมมัด
ชารีฟ

ก็ได้กลายเป็นแขกรับเชิญในรายการดังกล่าว เขาได้เล่าเรื่องราวของเขากับพิธีกร
ว่าเขานั้นมาจากครอบครัวที่ยากจน ขณะเดียวกันแม่ของเขาก็กำลังป่วยด้วยโรคหัวใจ
ลุงของเขาเพิ่งเสียชีวิตไปได้ไม่นาน อีกทั้งลูกพี่ลูกน้องวัย 15
ปีของเขาก็เพิ่งเสียชีวิตไปด้วยอุบัติเหตุทางมอเตอร์ไซค์เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้านี้

… วันหนึ่ง
ชารีฟและพ่อของเขาได้ดูรายการทางโทรทัศน์ซึ่งกำลังขอรับบริจาคเพื่อการผ่า
ตัดของชายผู้หนึ่งที่ได้รับความเจ็บป่วยจากโรคทางสมอง
และนั่นเป็นสาเหตุที่ทำให้เขาต้องเดินเข้าไปปลุกแม่ที่กำลังนอนอยู่ในห้อง ถัดไป
และถามเธอว่า
แม่ครับ
ตอนนี้เรามีเงินเหลืออยู่เท่าไหร่ครับ
” 

เธอบอกเขาว่า ตอนนี้เรามีเงินอยู่
28 ปอนด์น่ะ ลูก
  แต่เรายังไม่ได้จ่ายค่าไฟเลยนะเธอบอกให้เขาทราบเพราะคิดว่าลูกชายคงต้องการเงินเพื่อไปทำอะไรบางอย่าง

ชารีฟจึงได้เล่าเรื่องราวของ ชายที่ป่วยทางสมองและจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด
ให้แม่ของเขาฟัง และถามความเห็นเธอว่า
พวกเขาจะสามารถบริจาคเงินครึ่งหนึ่งจากจำนวนเงินที่มีอยู่ได้หรือไม่ 

แม่เขาตอบว่า ได้สิ
ลูก
” “มีเพียงแค่คนป่วยเท่านั้นที่เข้าใจถึงความเจ็บปวดของคนป่วยด้วยกัน
และนี่เป็นจุดเริ่มต้นของเรื่องราว
ขณะที่ชารีฟกำลังออกรายการอยู่นั้น พิธีกรได้ถามเขาว่า เขานั้นมีงานทำหรือไม่
ชารีฟตอบว่า ตัวเขานั้นเคยทำงานเป็นผู้ช่วยผู้กำกับ หากแต่ว่าตอนนี้เขาตกงานอยู่

จากนั้นพิธีกรจึงบอกกับเขาว่า
ทางรายการนั้นได้ตัดสินใจที่จะรับเขาเข้าทำงานในตำแหน่ง
ผู้ช่วยผู้กำกับ

เมื่อชารีฟได้ยินดังนั้น มันทำให้เขาพูดไม่ออก
เขาได้แต่กล่าวคำขอบคุณอย่างมากมายต่อพิธีกร และกล่าวว่า สิ่งที่เขาได้รับนั้นมันมากเกินกว่าที่คนอย่างเขาควรจะได้รับ

คนอีกหลายๆ
ล้านคนคงจะทำเหมือนอย่างที่ผมได้ทำไป
 ชารีฟกล่าว

และนี่เป็นตัวอย่างของ การไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว
ซึ่งไม่ใช่เรื่องราวของศอฮาบะฮฺ
หากแต่มันเป็นเรื่องจริงของชายคนหนึ่งที่เกิดขึ้นในปี 2551

ชายผู้นั้นได้แบ่งปันสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่เขามี
และอัลลอฮฺทรงประทานแก่เขาซึ่งรางวัลที่มากกว่า 10 เท่า
ซึ่งมากกว่าสิ่งที่เขาได้บริจาคให้กับชายผู้ที่ป่วยทางสมองท่านนั้น —
พระองค์ทรงประทานเงินให้แก่เขา อีกทั้งยังทรงประทานงานให้แก่เขา

การให้ความช่วยเหลือผู้อื่นและการให้ความใส่ใจต่อผู้อื่นนั้น
เป็นสิ่งที่อัลลอฮฺทรงประสงค์ อินชาอัลลอฮฺ
ขอให้พวกเราช่วยทำให้อุมมะฮฺนี้กลับคืนสู่สถานะที่พวกเขาควรจะอยู่ (เพื่ออัลลอฮฺ
ซุบฮานะฮู วะตะอาลา)

เอื้อเฟื้อโดย Al
Jumuah Magazine

ขออัลลอฮฺทรงตอบแทนความดีงามต่อ ฟาติมะฮฺ คาน  

Read Full Post »