Feeds:
Posts
Comments

Archive for March 5th, 2009

 The Important of being truthful www.islamqa.com 

*คัดลอกอัลกุรอานแปลไทยมากจาก http://www.alquran-thai.com/ และมีการแก้ไขข้อความบางส่วน

อะไรคือความสำคัญของ
การมีสัจจะ
ทั้งในด้านความสัมพันธ์ส่วนตัว ความสัมพันธ์ทางธุรกิจ และในหนทางของอิสลาม
?
แล้ว
การกล่าวเท็จ นั้นถือเป็นการกระทำที่ยอมรับได้หรือไม่?

การสรรเสริญเป็นของอัลลอฮฺ

การมีสัจจะ หมายถึงการพูดความจริง
รวมไปถึงการพูดถึงสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นจริง

การมีสัจจะ เป็นหนึ่งในคุณสมบัติที่จำเป็นสำหรับสังคมมนุษย์
เป็นหนึ่งคุณค่าของพฤติกรรมมนุษย์ และมันจะทำมาซึ่งคุณงามความดีมากมาย ในขณะที่
การกล่าวเท็จ นั้นเป็นหนึ่งองค์ประกอบใหญ่ของความเสื่อมทรามในสังคมมนุษย์
เป็นสาเหตุของการทำลายโครงสร้างและสายสัมพันธ์ของสังคม
และเป็นลักษณะเฉพาะของความประพฤติชั่วร้ายที่สุดอย่างหนึ่ง
อีกทั้งยังเป็นสาเหตุของการแพร่ขยายความชั่วในสังคม ดังนั้น
อิสลามจึงได้สั่งใช้ให้เรานั้นยึดมั่นในความจริงและห้ามปรามเราจากการกล่าวเท็จ

อัลลอฮฺทรงตรัสว่า โอ้ บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย จงยำเกรงต่ออัลลอฮฺ
และจงอยู่กับบรรดาผู้มีความสัตย์จริง (ทั้งในการกระทำและคำพูด)
  อัต เตาบะฮฺ
9.119)

ท่านอิบนุ กาซีรฺ
(รอฮิมาฮุลลอฮุ อันฮุ) กล่าวว่า (2/414)
มันหมายความว่า: จงมีสัจจะและยึดมั่นในความจริง
และท่านจะได้อยู่ในหมู่คนผู้มีสัจจะ อีกทั้งจะได้รับการปกป้องคุ้มครองจากหายนะ
และสิ่งนี้จะเป็นทางออกแก่ท่านสำหรับทุกๆ ปัญหา (ที่ท่านต้องประสบ)

อัลลอฮฺทรงตรัสว่า …หากเพียงพวกเขานั้นมีความจริงใจต่ออัลลอฮฺ
มันก็คงจะเป็นการดีกว่าสำหรับพวกเขา
  (มูฮัมมัด 47.21)

อับดุลลอฮฺ อิบนุ
มัสอูด (รอฮิมาฮุลลอฮุ อันฮุ) กล่าวว่า
ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ
วะศัลลัม) ได้กล่าวว่า
ท่านต้องยึดมั่นในความสัตย์จริง
ด้วยเพราะ
ความจริง นั้นจะนำไปสู่ ความชอบธรรม และ ความชอบธรรม จะนำไปสู่ สวนสวรรค์  บุคคลใดก็ตามที่ยึดมั่นในการพูดความจริง
และมุ่งมั่นพยายามที่จะพูดความความจริง จนกระทั่งสิ่งที่เขาพูดนั้นถูกบันทึก ณ
ที่อัลลอฮฺ  ให้เป็น 
ศิดดิ๊ก (ผู้ที่พูดแต่ความจริง) — และจงระวังการกล่าวเท็จ ด้วยเพราะการกล่าวเท็จ
หรือ การโกหกนี้จะนำไปสู่
ความเลวทรามทางศีลธรรม และ ความเลวทรามนี้
จะนำไปสู่
ไฟนรก  บุคคลใดก็ตามที่ยึดมั่นในการกล่าวเท็จและพยายามที่จะโกหก
จนกระทั่งสิ่งที่เขาพูดนั้นถูกบันทึก ณ ที่อัลลอฮฺ ให้เป็น
ผู้โกหก
(รายงานโดย มุสลิม 4721)

ฮะดีษบทนี้ได้ระบุว่า
ความสัตย์จริง นั้นจะนำไปสู่ ความชอบธรรม (อัล บีรรฺ) ซึ่งรวมไปถึงทุกๆ กฏเกณฑ์ที่นำมาใช้ ไม่ว่าจะเป็นความดีทุกๆ
ประเภท และการกระทำที่แสดงออกถึงความดีงามทั้งหลาย — ส่วน
ความเลวทรามทางศีลธรรม คือการหันเหออกจากความจริง และ บุคคลที่ไร้ศีลธรรม (ฟาญิรฺ)
คือผู้ที่ถูกทำให้หันห่างจากทางนำ (ของอัลลอฮฺ) ดังนั้น แน่นอนว่า
ความเลวทรามทางศีลธรรม และ ความชอบธรรม นั้นเป็นสิ่งที่มีความขัดแย้งกันอย่างชัดเจน

อัล ฮัซซัน อิบนุ
อาลี  และอิบนุ อบี ตอลิบ (รอฮิมาฮุลลอฮุ
อันฮุ) กล่าวว่า
ฉันจำได้ว่าท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะศัลลัม)
กล่าวว่า
จงละทิ้งสิ่งที่ทำให้ท่านนั้นเคลือบแคลงสงสัย
และยึดเอาสิ่งที่ไม่สร้างความเคลือบแคลงสงสัยให้แก่ท่าน 
ความสัตย์จริง เป็นสิ่งที่แน่นอนและสร้างความสันติ ในขณะที่ ความเท็จ
การโกหก
นั้นเป็นความไม่แน่นอน และสร้างความสับสน
(รายงานโดย อัล ติรมิซีย์ 2520 อัล-นิซายฺ 8/327 และ อะหฺมัด 1/200)

จากฮะดีษของอบู
ซุฟยาน ที่บรรยายเกี่ยวกับการพบปะของเขากับเฮอร์เรคเคลียส
(จักรพรรดิ์ไบเซนไทน์)  อบู ซุฟยาน
(รอฮิมาฮุลลอฮุ อันฮุ) กล่าววว่า 
(เฮอร์เรคเคลียส)
กล่าวว่า
เขา (หมายถึงท่านศาสนทูต ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ
วะศัลลัม) ได้สั่งใช้ให้ท่านทำสิ่งใดบ้าง
ฉันตอบว่า ท่านกล่าวว่า: จงทำการเคารพสักการะต่ออัลลอฮฺ
เพียงพระองค์เดียว และอย่าตั้งภาคีต่อพระองค์ด้วยสิ่งอื่นใด
และละทิ้งสิ่งที่บรรพบุรุษนั้นเคยทำในอดีต
อีกทั้งท่านได้สั่งใช้ให้เรานั้นทำการละหมาด และรักษาสัจจะ รักษาความบริสุทธิ์
และรักษาความสัมพันธ์ระหว่างเครือญาติ
(รายงานโดย อัล บุคอรีย์ 1/30
และมุสลิม 1773)

ฮากิม อิบนุ ฮิซซัม
(รอฮิมาฮุลลอฮุ อันฮุ) รายงานว่า ท่านศาสนทูต (ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะศัลลัม)
กล่าวว่า
2 ฝ่ายที่ทำการเจรจาตกลงกัน (ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง)
นั้นมีสิทธิ์ในการเลือกที่จะตกลงหรือเปลี่ยนใจ (ในการเจรจานั้น) หรือไม่ก็ได้
ตราบใดที่ทั้งสองฝ่ายยังไม่แยกจากกัน และหากว่าพวกเขาเปิดใจและมีสัจจะต่อกัน
การเจรจาของพวกเขาจะได้รับการอำนวยพร และหากว่าพวกเขาปิดบังและกล่าวเท็จ
การอำนวยพรของการเจรจานั้นก็จะสูญสิ้นไป
(รายงานโดย อัล บุคอรีย์ 4/275
และมุสลิม 1532)

การมีสัจจะ นั้นยังหมายถึงการมีความสัตย์จริงต่ออัลลอฮฺ
โดยการทำการสักการะต่อพระองค์อย่างจริงใจ
, การมีความซื่อสัตย์ต่อตัวเองโดยการยึดมั่น
ปฏิบัติตามกฏเกณฑ์ของอัลลอฮฺ
, การมีวาจาสัตย์กับผู้คนในคำพูด
การรักษาสัญญา รวมไปถึงการเจรจาตกลงซื้อขายสินค้า หรือแม้แต่การแต่งงาน
ด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องละทิ้งพฤติกรรมชั่วร้ายดังกล่าว
ไม่ว่าจะเป็น การหลอกลวง การคดโกง การบิดเบือน หรือการปิดบังข้อมูล เป็นต้น
ดังนั้นเราควรจะต้องเป็นบุคคลที่มีความดีงามทั้งภายในและภายนอก

เมื่อกล่าวถึง การกล่าวเท็จ แล้ว การพฤติกรรมเช่นนี้
ถือเป็นสิ่งต้องห้ามขั้นสูงสุด 
และเป็นเรื่องที่น่ารังเกียจ อีกทั้งยังมีความผิดบาปอีกด้วย
รูปแบบที่น่ารังเกียจมากที่สุดในเรื่องของการกล่าวเท็จ ก็คือการกล่าวเท็จ
กล่าวอ้างถึงสิ่งอื่นใดอย่างผิดๆ ต่ออัลลอฮฺและศาสนทูตของพระองค์ด้วยเพราะว่าการกระทำเช่นนี้นั้นเป็นการอุตริกรรมทางศาสนาอย่างหนึ่ง
และถือเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่ออัลลอฮฺ ดังนั้นหนึ่งในคุณลักษณะของศาสนทูต
ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะศัลลัม
คือการที่ท่านเป็นผู้ที่ถ่ายทอดสารตามที่อัลลอฮฺทรงสั่งใช้ได้อย่างซื่อตรงและสัตย์จริง
ดังที่อัลลอฮฺทรงตรัสว่า

และผู้ใดเล่าที่ทำความผิดมากกว่าบุคคลที่อุปโลกน์ความเท็จยังอัลลอฮฺ
เพื่อทำให้มนุษย์หลงผิดโดยปราศจากความรู้ แท้จริงแล้ว
อัลลอฮฺจะไม่ทรงให้ทางนำแก่กลุ่มชนที่อธรรม (ผู้ที่นับถือพระเจ้าหลายองค์
ผู้กระทำผิดศีลธรรม)
 อัล อาม 6.144

และผู้ใดเล่าที่จะอธรรมยิ่งไปกว่าผู้ที่อุปโลกน์ความเท็จต่ออัลลอฮฺ ชนเหล่านั้นจะถูกนำมาเสนอต่อพระเจ้าขงพวกเขาและบรรดาพยานจะกล่าวว่า
พวกเหล่านั้นคือบรรดาผู้ที่กล่าวเท็จต่อพระเจ้าของพวกเขา พึงรู้เถิด! การสาปแช่งของอัลลอฮ์จะได้แก่บรรดาผู้อธรรม
ฮูด 11.18

ความชั่วอีกอย่างหนึ่ง
คือการโกหกเกี่ยวกับท่านศาสนทูต ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะศัลลัม
ด้วยเพราะว่ามีการรายงานเกี่ยวกับท่านในฮะดีษเมาฎั๊ว
ผู้ใดก็ตามที่ให้ความเท็จเกี่ยวกับฉันโดยเจตนา
ที่พำนักของเขานั้นคือ นรก
ศอเฮียะห์บุคอรีย์ ฮะดีษเลขที่ 107

กฏพื้นฐานเกี่ยวกับการกล่าวเท็จ
นั่นคือ มันเป็นสิ่งต้องห้าม และไม่ได้รับการอนุมัติ  แต่มีในบางกรณี
หรือบางสถานการณ์ที่อิสลามอนุมัติให้มีการกล่าวเท็จได้
หากว่ามันจะทำให้เกิดผลที่ดีกว่า หรือเป็นการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น

หนึ่งในกรณีเหล่านั้นคือ
เมื่อบุคคลคนหนึ่งทำการไกล่เกลี่ยให้กับคู่กรณี 2 ฝ่าย
ที่ปัญหาของเขานั้นยากที่จะประนีประนอม โดยมีจุดประสงค์ให้พวกเขาทั้ง 2
ฝ่ายนั้นกลับมาคืนดีกันหรือปรองดองกันอีกครั้ง 
ท่านอุม กัลซูม (
Um
Kalthoom) รอฮิมาฮุลลอฮุ อันฮุ รายงานว่า ท่านศาสนทูต ศ็อลลัลลอฮุ
อะลัยฮิ วะศัลลัม ได้กล่าวว่า
เขาไม่ใช่ คนโกหก หากเขาเป็นผู้ที่ทำการไกล่เกลี่ยให้คู่กรณีและกล่าวถึงสิ่งที่ดีของแต่ละฝ่าย
(เพื่อให้พวกเขานั้นกลับมาคืนดีกัน)
(รายงานโดยอัล บุคอรีย์ 2495)

อีกกรณีหนึ่งที่ได้รับการยกเว้น
คือ การพูดจาของสามีต่อภรรยาของเขา หรือการพูดจาของภรรยาต่อสามีของนาง
เพื่อต้องการที่จะกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยาให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
แม้ว่าจะต้องพูดปดก็ตาม
อัสมา บินติ ยาซีด กล่าวว่า ท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ
ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะศัลลัม กล่าวว่า
การกล่าวเท็จนั้นไม่เป็นที่อนุมัติ
ยกเว้นใน 3 กรณีนี้ การกล่าวเท็จของสามีต่อภรรยาเพื่อทำให้นางมีความสุข
, การกล่าวเท็จในช่วงเวลาของสงคราม
และการกล่าวเท็จเพื่อสร้างความปรองดองระหว่างคู่กรณี
(รายงานโดย อัล ติรฺมิซียฺ 1862 ท่านกล่าวว่า เป็นฮะดีษฮะซัน ดูศอเฮี้ยะฮฺ
มุสลิม 4717)

หนึ่งในรูปแบบที่มีความสำคัญที่สุดของการมีสัจจะและการกล่าวเท็จ
คือ ขอบเขตของการให้คำสัญญาและข้อตกลงต่างๆ
การมีสัจจะต่อคำสัญญาและข้อตกลง นั้นถือเป็นหนึ่งในคุณสมบัติที่บรรดาผู้ศรัทธานั้นตระหนักเป็นอย่างดี
— ทั้ง
สัญญา หรือ ข้อตกลง นั้นเกี่ยวข้องกับการกล่าวถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อเป็นการยืนยันว่าเราจะทำมันอย่างแน่นอน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องที่เป็นหน้าที่ของเราต่ออัลลอฮฺ อัลลอฮฺทรงตรัส
ยกย่องบ่าวบางคนของพระองค์ว่า

บรรดาผู้ที่มีความจริงใจและรับผิดชอบต่ออะมานาตฺของเขา
(หน้าที่ที่อัลลอฮฺทรงสั่งใช้ เช่น ความซื่อสัตย์ การมีศีลธรรม ความรับผิดชอบ
และความน่าเชื่อถือ เป็นต้น) และข้อตกลงต่างๆ ของพวกเขา
อัลมุมินูน 23.8  

…และผู้ที่รักษาสัญญาของเขาอย่างสมบูรณ์เมื่อพวกเขาได้ให้สัญญาไว้ อัล บากอเราะฮฺ 2.177

ในหมู่ผู้ศรัทธามีบุรุษผู้มีสัจจะต่อสิ่งที่พวกเขาได้สัญญาต่ออัลลอฮฺเอาไว้
(คือ การที่พวกเขาได้ออกไปทำญิฮาดต่อสู้กับศัตรู และไม่ได้หันหลัง
หรือถอยทัพให้กับผู้ปฏิเสธศรัทธา) ดังนั้นในหมู่พวกเขามีผู้ปฏิบัติตามสัญญาของเขา
(เป็นผู้พลีชีพ เสียชีวิตในหนทางของอัลลอฮฺ) และในหมู่พวกเขามีผู้ที่ยังคอย
(การตายชะฮีด) และพวกเขามิได้เปลี่ยนแปลง
(พวกเขามิได้ทรยศต่อคำสัญญาที่พวกเขาได้ให้ไว้ต่ออัลลอฮฺ) แต่อย่างใด
อัล อะหฺซาบ 33.23

เราขอต่ออัลลอฮฺ
ตะอาลา ให้พระองค์ทรงทำให้พวกเรานั้นเป็นผู้ที่มีความจริงใจ
และมีสัจจะทั้งในคำพูดและการกระทำ แท้จริงแล้ว อัลลอฮฺทรงรู้ดียิ่ง

เชค มูฮัมมัด
ศอลิฮฺ อัล มูนาญิด
Islam QA

Read Full Post »